top of page

จุฬาฯ พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้ในอนาคต“จุฬาเวิร์สฯ (ChulaVerse)”


โครงการจุฬาเวิร์สฯ (ChulaVerse) จัดงาน “เปิดตัว ChulaVerse Platform V.1” เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ สำนักงานโครงการจุฬาเวิร์สฯ, Block28 Creative & Stratup Village โดยเป็นกิจกรรมการนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานการพัฒนาแพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส และทดสอบการเปิดตัวแพลตฟอร์ม ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานได้ทดลองใช้ในเวอร์ชันทดสอบ (Beta) บนแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore และ myCourseVille แล้ววันนี้

โครงการจุฬาเวิร์สฯ แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง เพื่อชุมชนวิธีใหม่อย่างยั่งยืนด้วยกรณีใช้งานทางด้านการแพทย์ การศึกษาตลอดชีวิต และการพาณิชย์ (ChulaVerse : Metaverse Service Platform for Community Sustainability) ภายใต้การสนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สบจ.) โครงการจุฬาเวิร์สฯ เป็นโครงการวิจัยจากความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส (Infrastructure) และกรณีใช้งานต่าง ๆ


นวัตกรรม เมตาเวิร์สเพื่อ

การศึกษาและการใช้ชีวิต


จุฬาเวิร์ส ได้มีการพัฒนาบนเว็บแอปพลิเคชัน และเปิดให้ใช้งาน 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่

  • แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์สพื้นที่โลกเสมือนจริง (CV-World) ในชื่อ “MetaclassX” บน myCourseVille สำหรับเป็นพื้นที่การเรียนรู้เสมือนจริงออนไลน์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างตัวละครเสมือน (Avatar) สำหรับเข้าใช้งานการประชุม เรียน และนำเสนองาน

  • แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส นวัตกรรมการศึกษาทางการแพทย์ออนไลน์รูปแบบใหม่ (Immersive Learning) ภายใต้ความร่วมมือกับฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์ MedUMore เปิดให้ใช้ ฟีเจอร์ใหม่ “Immersive” สำหรับเรียนรู้เนื้อหาเสมือนจริง (Immersive Content) เพื่อเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ผ่านเนื้อหา 180/360 องศา, การจำลองสถานการณ์ และ VR Tour







แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ร่วมมือกับ บริษัท มายคอร์สวิลล์ จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์มจุฬาเวิร์สด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์สฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ที่นิสิตหรืออาจารย์สามารถดำเนินการสร้างพื้นที่ห้องเรียนในรูปแบบของ Virtual ได้

  • เมื่อเข้าไปใช้งานในห้องเรียน (Learning Space) อาจารย์จะสามารถกำหนดขนาดของห้องเรียน หรือฟังก์ชันอื่น ๆ ได้

  • อาจารย์และนิสิตสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้จุฬาเวิร์ส สร้างตัวละครเสมือน (Avatar) ได้ อีกทั้งยังสามารถใช้งานกล้อง ไมโครโฟน แสดงความรู้สึก (Emotion) แชท และสามารถแชร์หน้าจอ เพื่อทำการสอนสำหรับอาจารย์หรือนำเสนอผลงานในชั้นเรียนได้ สำหรับนิสิต




แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ร่วมมือกับ แพลตฟอร์ม MedUMore ในการประยุกต์ใช้เนื้อหาเสมือนจริงทางการแพทย์ บน CV-Learn

การเชื่อมต่อข้ามแพลตฟอร์ม ระหว่างแพลตฟอร์มจุฬาฯเวิร์ส และ MDCU MedUMore โดยแพลตฟอร์มจุฬาเวิร์สซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับ การเข้าถึงเนื้อหาในรูปแบบเสมือนจริง ร่วมมือกับ MedUMore ที่เป็น พื้นที่ให้บริการด้านความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ในรูปแบบออนไลน์ ดังนั้นเพื่อยกระดับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางวิชาชีพขั้นสูงของผู้ใช้ ให้ครบวงจรมากขึ้น และ ผู้ใช้สามารถมีประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่แตกต่าง อีกทั้ง ตอบโจทย์ใน ข้อจำกัดบางอย่างที่ VDO สองมิติแบบเดิมไม่สามารถทำได้ การร่วมมือกันในครั้งนี้ถือว่า เป็นมิติใหม่และเป็นต้นแบบของการพัฒนาการเรียนการสอน บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของมหาวิทยาลัย



ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ : www.chulaverse.com

Facebook : ChulaVerse

ที่ตั้ง : ChulaVerse Office, Block28 Creative & Startup Village, ชั้น 1 Block B

43 views0 comments
ChulaVerse LOGO.png
bottom of page